Category Archives: สัตว์

ผีเสื้อ มีปีกเป็นแผ่นบางสองคู่

ผีเสื้อ มีปีกเป็นแผ่นบางสองคู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมากคล้ายฝุ่น เมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียก ผีเสื้อกลางวัน, พายัพเรียก กะเบ้อ กำเบ้อ ก่ำเบ้อ หรือ อีเบ้อ, และชนิดหากินในเวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก แมงกาย ผีเสื้อยักษ์ ชื่อผีเสื้อขนาดใหญ่หลายชนิด ตัวเมียเมื่อกางปีก วัดจากขอบปีกหนึ่งถึงอีกขอบปีกหนึ่งยาวได้ถึงยี่สิบเอ็ดถึงยี่สิบห้าเซนติเมตร ลำตัวยาวสี่ถึงห้าเซนติเมตร กว้างหนึ่งเซนติเมตรครึ่งถึงสองเซนติเมตร ลำตัวและอกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลแดง ปีกสีน้ำตาลแดง มีลวดลาย โดยเฉพาะบริเวณเกือบกึ่งกลางปีกมีลักษณะบางใสรูปคล้ายใบโพ

วงศ์ปลาผีเสื้อ ชื่อปลาทะเลทุกชนิด ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว เกล็ดสากมือคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวตั้งแต่สิบถึงสามสิบเซนติเมตร
ผีเสื้อเงิน หรือปลาเฉี่ยวหิน ชื่อปลาทะเลชนิด ลำตัวสั้นมาก รูปไข่แบนข้าง ครีบหลังและครีบก้นยาวพื้นลำตัวและครีบสีเทาเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านตาหนึ่ง แถบและอีกแถบโค้งผ่านแผ่นปิดเหงือกไปยังขอบหน้าของครีบหลังและครีบก้น ขนาดยาวได้ถึงยี่สิบห้าเซนติเมตร อยู่ในน้ำจืดได้

ผีเสื้อ เป็นไม้ขนาดเล็ก สูง 12 เมตร ฐานใบรูปหัวใจไม่สมมาตร ผิวใบเกลี้ยงเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อ ผลรูปมนรี สุกเป็นสีม่วง พบกระจายตั้งแต่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย บังกลาเทศ พม่า จีน ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในวอกมือด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น

กุ้งไทยเป็นสินค้าที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกสูงมาก ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการส่งออกกุ้งของไทยเติบโตเฉลี่ยราว 12% ต่อปี สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของโลกที่ 4% ต่อปี ปัจจุบันประเทศไทยผลิตกุ้งได้ราว 500,000 ตันต่อปี ผลผลิตส่วนใหญ่ 80% หรือ 400,000 ตัน ใช้เพื่อการส่งออก สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ปีละกว่า 90,000 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกุ้งรวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกโดยในปี”52 กุ้งและผลิตภัณฑ์แปรรูปของไทยครองส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงถึง 23.9% โดยมีปริมาณการส่งออก 389,999 ตัน คิดเป็นมูลค่า 94,149 ล้านบาท หรือสูงราว 12.23% ของมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของไทย ตลาดส่งออกกุ้งของไทยที่สำคัญอันดับ 1 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 48.9% รองลงไปคือ ญี่ปุ่น 20.4% สหภาพยุโรป 12.5% แคนาดา 5.6% ออสเตรเลีย 2.4% และเกาหลีใต้ 2.1%

ตะโขง หรือ จระเข้ปากกระทุงเหว

ตะโขง หรือ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขงมลายู เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ อยู่ในวงศ์ตะโขง จัดเป็นหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นี้ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีลำตัวขนาดปานกลาง ความยาวเต็มที่ประมาณ 2.80-3.0 เมตร ปากแหลมเรียวยาวมาก แต่ไม่มีก้อนเนื้อตอนปลายจมูกเหมือน ตะโขงอินเดีย มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวและหาง

พบกระจายพันธุ์อยู่ในคาบสมุทรมลายูและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, มาเลเซีย, เวียดนาม, กาลิมันตัน, บอร์เนียว, สุมาตรา และพบถึงประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ โดยมักอาศัยที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยหรือป่าชายเลน แม้จะมีลำตัวที่ใหญ่แต่ทว่าด้วยรูปทรงของปากที่เรียวเล็ก ทำให้ตะโขงสามารถกินอาหารได้เพียงไม่กี่ประเภท เช่น ปลา เท่านั้น เป็นต้น

ตะโขงเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 5-6 ปี หรือความยาว 2.50-3.0 เมตร มีพฤติกรรมการจับคู่แบบเดียวกับนกเงือกคือ จะจับคู่เพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยทำรังโดยพูนดินและวัชพืชขึ้นบนชายฝั่ง วางไข่ครั้งละ 20-60 ฟอง ในฤดูแล้ง ระยะฟักไข่ราว 2.5-3 เดือน เป็นตัวประมาณต้นฤดูฝน การเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงเพิ่งประสบความสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2548 จากฟาร์มจระเข้ สมุทรปราการ เป็นครั้งแรกของโลก โดยได้พ่อแม่พันธุ์จากประเทศสิงคโปร์

สำหรับสถานะในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ ไซเตส ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อหมายเลขหนึ่ง คือ ห้ามล่าหรือค้าโดยเด็ดขาด เว้นแต่เป็นไปเพื่อการศึกษาวิจัย

สถานภาพในธรรมชาติของตะโขงนับว่าใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว สำหรับในประเทศไทยไม่พบมีรายงานการพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 ในอดีตมีรายงานการพบบ้างที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2503 และ พ.ศ. 2504 ในระยะหลังมีรายงานการพบบ้างที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสิรินธร ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส แต่ก็พบเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น